• 9 พฤษภาคม 2024
  • Thailand

ยอดหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งอันดับ 2 ของเอเชีย ส่วนหนี้สาธารณะไทยล่าสุดสูงกว่าปีที่แล้ว 6.8 หมื่นบาท

ยอดหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งอันดับ 2 ของเอเชีย ส่วนหนี้สาธารณะไทยล่าสุดสูงกว่าปีที่แล้ว 6.8 หมื่นบาท

ยอดหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งอันดับ 2 ของเอเชีย ส่วนหนี้สาธารณะไทยล่าสุดสูงกว่าปีที่แล้ว 6.8 หมื่นบาท

อยู่ๆ ไทยก็ติดอันดับ 2 ของประเทศในเอเชียที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดรองจากประเทศเกาหลี ที่น่าตกใจและแปลกใจมาก คือไตรมาสที่ 1พบหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 13 ล้านล้านบาท และ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 6.3 และคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีเท่ากับร้อยละ 78.7 สูงสุดในรอบ 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งหนี้ที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และรถยนต์

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับไตรมาส 2/2562 แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 9.2% โดยยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 11.3% สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 4/2558 เป็นต้นมา

ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 7.8% ชะละลงจาก 9.1% ในไตรมาสก่อน และรถยนต์ขยายตัว 10.2% ชะลอลงจาก 11.4% ในไตรมาสก่อน ภาพรวมของสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น มียอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อการอุปโภคบริโภคในไตรมาส 2/2562 มูลค่า 127,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 2.74% ต่อสินเชื่อรวม และ 2.75% ต่อ NPLs รวม โดยยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อรถยนต์เพิ่มขึ้น 32.3% และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 12.5% เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และสินเชื่อบัตรเครดิตที่มียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ขณะเดียวกันแนวโน้มหนี้สินในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 คาดว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลงจากขึ้นปีแรก เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้ โดยเฉพาะมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อที่ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การอนุมัติประกอบกับมีการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในวงเงินสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้ผู้กู้ได้เงินสดกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น

นอกจากนี้ ล่าสุด หนี้สาธารณะของไทย ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2562 ณ วันที่ 30 กันยายน พบว่าสูงกว่าปีที่แล้ว อยู่ที่ 6,901,801.55 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP แบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5,664,175.96 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 892,597.67 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 335,921.18 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐอื่น 9,106.74 ล้านบาท ขณะที่หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 มีจำนวน 6,833,645.93 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.80% ของผลิตภัณฑ์มวนประเทศ หรือ GDP แบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5,551,356.52 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 937,778.13 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 336,643.42 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐอื่น 7,867.86 ล้านบาท

ไม่ว่าจะทั้งหนี้ครัวเรือนซึ่งเป็นหนี้ส่วนบุคคล หรือแม้กระทั้งหนี้สาธารณะของรัฐเองต่างก็สูงไม่ต่างกัน ช่วงนี้ใครจะผ่อนบัตรเครดิต บ้าน หรือรถยนต์ ก็ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะไม่รู้ว่าปีหน้าเศรษฐกิจบ้านเราจะแย่กว่านี้อีกไหม ในทางเดียวกันรัฐบาลต้องเร่งหามาตรการลดอัตราภาวะหนี้ครัวเรือน เนื่องจากหากมีหนี้อยู่ในอัตรที่สูง กำลังซื้อก็จะหดตัวลง ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนที่น้อยและต้องพึ่งการสางออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งถ้าดูจากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนและอเมริกาดูท่าน่าจะอีกยาวเช่นกัน