• 18 พฤษภาคม 2024
  • Thailand

รวมค่าลดหย่อนภาษี เตรียมยื่นภาษีบุคคลธรรมดาปี 64

รวมค่าลดหย่อนภาษี เตรียมยื่นภาษีบุคคลธรรมดาปี 64

รวมค่าลดหย่อนภาษี เตรียมยื่นภาษีบุคคลธรรมดาปี 64


ใกล้จะสิ้นปีแล้ว สำหรับใครกำลังเตรียมเอกสารยื่นจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาของปี 2564 อยู่ต้องมาเช็คกันหน่อยว่าสามารถลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาฝากกัน ปี 2563 แบ่งการลดหย่อนภาษี ได้แก่

1. กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว แบ่งเป็น

  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท ลดหย่อนภาษีได้ทันทีที่ยื่นแบบฯ ส่วนคู่สมรสที่ไม่มีเงินลดได้ 60,000 บาท โดยสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน
  • ค่าลดหย่อนบุตรตามกฎหมาย คนละ 30,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนบุตร) หากมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
  • ค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท หากคลอดบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป 30,000 บาทต่อคน
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดาลดหย่อนจากบิดา-มารดาตัวเอง และบิดา-มารดาคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดคือ 4 คน ไม่เกิน 120,000 บาท
  • ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน

2. กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท, ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท ,ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิต และเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ,ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และประกันชีวิตบำนาญ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund) หรือ กองทุนรวม SSF สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท, กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (Super Savings Fund Extra) หรือ กองทุนรวม SSFX ใช้สิทธิ์กองทุนเพื่อการออม และอีก 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) หักลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ,กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

3. ค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และซื้อบ้านหลังแรก ปี 2559 ไม่เกิน 20% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ นำมาเฉลี่ยลดหย่อนภาษีได้เป็นเวลา 5 ปี หรือเท่ากับลดหย่อนภาษีได้ปีละ 4% ของราคาบ้านเป็นเวลา 5 ปี

4. กลุ่มเงินบริจาคเงินบริจาค แบ่งเป็นเงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เช่น เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค

  • เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง เช่น เงินบริจาคทั่วไป ตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น และ เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ตามจำนวนที่บริจาคจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10,000 บาท

5. การลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ตัวอย่างโครงการช้อปดีมีคืนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ในการซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563

ทั้งนี้รายละเอียดเงื่อนไข และเอกสารในการยื่นลดหย่อนภาษี สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพกร https://www.rd.go.th/