• 9 พฤษภาคม 2024
  • Thailand

มาตรการแอลทีวี ตัวช่วย หรือตัวฉุด?

มาตรการแอลทีวี ตัวช่วย หรือตัวฉุด?

มาตรการแอลทีวี ตัวช่วย หรือตัวฉุด?

หลังจากประกาศใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน หรือ แอลทีวี เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าการกำหนดมาตรการดังกล่าว ทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวลง โดยสอดคล้องกับข้อมูลจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ระบุว่า การปล่อยสินเชื่อของธอส. ลดลงจาก 19,000 ล้านบาทในเดือนมีนาคม เหลือเพียง 9,000 ล้านบาทในเดือนเมษายน และคาดว่าการปรับตัวลดลงของการปล่อยสินเชื่อมาจากมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรืออสังหาฯ

ทั้งนี้จากมาตรการดังกล่าวทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวลง ดังนั้นการขยายตัวโครงการใหม่ๆ ของผู้ประกอบอาจจะต้องชะลอตัวลงไปก่อน เพื่อรอดูท่าทีของมาตรการและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยผู้ประกอบการอาจจะเน้นไปที่การขายอสังหาฯ เดิมที่มีอยู่แลมีสต็อกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลของฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันตลาดอสังหาฯ มีซัพพลายเหลือขายจำนวนมาก เฉพาะคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ รวมกันมีมากกว่า 4.2 หมื่นยูนิต จึงเป็นเหตุผลที่สนับสนุนได้ว่าผู้ประกอบดารควรระบายโครงการที่มีอยู่ในมือก่อน

อย่างไรก็ตามหลายๆ ก็มีมาตรการออกมาช่วยเหลือลูกค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการแอลทีวี อาทิ ธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น ให้ผู้ประกอบอสังหาฯ สามารถให้ลูกค้ารายย่อยเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น โดยที่ธนาคารไม่ได้รับความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงกำหนดให้ลูกค้าออมเงินก่อนกู้ เนื่องจากลูกค้าต้องมีเงินดาวน์มากขึ้น และให้ลูกค้าผ่อนชำระเงินกับผู้ประกอบการไปก่อนระยะหนึ่ง แล้วค่อนทำเรื่องผ่อนกับธนาคาร

นอกจากนี้ยังคงต้องจับตามาตรการแอลทีวีถึงความชัดเจนในอนาคตด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังมีแผนที่จะหารือกับธปท. เพื่อขอผ่อนปรนมาตรการแอลทีวี เนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลกระทบให้ยอดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลง ซึ่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯ จึงต้องหารือเพื่อผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว ส่วนธปท. ให้ความเห็นว่าแนวโน้มการขยายตัวสินเชื่อที่อยู่อาศัยชะลอตัวหลังมาตรการแอลทีวีมีผลบังคับใช้ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลดีในอนาคต เนื่องจากจะสามารถลดการซื้ออสังหาฯ เพื่อเก็งกำไรได้ ซึ่งธปท.จะติดตามข้อมูลและประเมินผลกระทบภาพรวมต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องดูสถานการณ์มาตรการแอลทีวี ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันควรเน้นไปที่การระบายสต็อกเดิมมากกว่าการเปิดตัวโครงการใหม่